สทนช.ลงพื้นที่สำรวจพร้อมถก 5 จังหวัด เหนือเขื่อนเจ้าพระยา และหน่วยเกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนเพิ่มพื้นที่หน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งเป้าตัดยอดน้ำไม่น้อยกว่า 1,000 ล้าน ลบ.ม. ภายในปี 66 หวังหน่วงน้ำก่อนลงพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในฤดูฝน

สทนช.ลงพื้นที่สำรวจพร้อมถก 5 จังหวัด เหนือเขื่อนเจ้าพระยา และหน่วยเกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนเพิ่มพื้นที่หน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งเป้าตัดยอดน้ำไม่น้อยกว่า 1,000 ล้าน ลบ.ม. ภายในปี 66 หวังหน่วงน้ำก่อนลงพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในฤดูฝน
วันนี้ (13 พ.ย.65) เวลา 14.00 น .ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาแก้มลิงเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ณ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ภาคกลาง  ห้องประชุม SWOC 12 สำนักงานชลประทานที่ 12  เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
  ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 3,000 ลบ.ม./วินาที ส่งผลกระทบกับพื้นที่จังหวัดตอนล่างที่ท่วมต่อเนื่องยาวนานและได้รับผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สทนช.ได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีในระยะเวลาปี 2566 – 2568 คือการเพิ่มพื้นที่แก้มลิง พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่สาธารณะที่จะช่วยตัดยอดน้ำตอนบนก่อนหลากลงมายังหน้าเขื่อนเจ้าพระยาอย่างน้อยประมาณ 1,000 ล้าน ลบ.ม. ภายในปี 66 เสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.กอนช. ซึ่งจะเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากได้นอกเหนือจากโครงการ 9 แผนหลักลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ โครงการบางบาล-บางไทร โครงการชัยนาท-ป่าสัก ฯลฯ
 ทั้งนี้ จากการขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจสถานการณ์น้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและสำรวจแนวทางการพัฒนาพื้นที่แก้มลิงเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อวานที่ผ่านมา (12พ.ย.65) ร่วมกับกรมชลประทาน ได้จัดกลุ่มพื้นที่รับน้ำเป็น 3 กลุ่มหลักที่ต้องวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนและนำมาใประโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในด้านงบประมาณ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 พื้นที่สาธารณะ บึงธรรมชาติ เช่น บึงสีไฟ บึงบอระเพ็ด ซึ่งมีความพร้อมและสามารถดำเนินการทันที เช่น การขุดลอก ยกระดับสันเขื่อนดินเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก กลุ่มที่ 2 พื้นที่รับน้ำจากเทือกเขา เพื่อชะลอและเก็บกักน้ำไว้ใช้ทำเกษตร และกลุ่มที่ 3 พื้นที่ลุ่มต่ำ แก้มลิง ซึ่งต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม รวมถึงมาตรการที่จะเป็นแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการ  หากจำเป็นเร่งด่วนอาจจะต้องเสนอขอรับงบกลางในการดำเนินการเพื่อให้สามารถทำได้ทันที
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมและมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพที่ชัดเจนตามพื้นที่รับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพ สทนช.จะเป็นเจ้าภาพประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเหนือเขื่อนเจ้าพระยา 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร และสุโขทัย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อาทิ กรมประมง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทยานฯ และ กอ.รมน. เป็นต้น ในวันที่ 16 พ.ย.นี้ เพื่อร่วมกันในการพิจารณาแนวทางดำเนินการหาพื้นที่รับน้ำ รวมถึงพิจารณาเปลี่ยนแปลงงบประมาณ เพื่อเร่งดำเนินการหน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้เร็วที่สุดก่อนถึงฤดูฝนปี 66 อย่างน้อย 1,000 ล้าน ลบ.ม. ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจาณาให้ความเห็นชอบประมาณปลายเดือน ธ.ค.นี้

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image

image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar